ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

นโยบาย

 นโยบายความปลอดภัยด้านยา โรงพยาบาลกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

    นโยบายเพื่อความปลอดภัยด้านยาเป็นแนวทางหลักในการกำหนดมาตรฐานการใช้และการบริหารจัดการยาระดับโรงพยาบาลและเครือข่ายสุขภาพ อำเภอกระสัง ให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตาม และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายความปลอดภัยและการป้องกันและจัดการความเสี่ยงในระดับโรงพยาบาล

นโยบายนี้ใช้ครอบคลุมบุคลากรทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้และการบริหารจัดการยา ได้แก่ องค์กรแพทย์ เจ้าหน้าที่หน่วยงานทันตกรรม เจ้าหน้าที่พยาบาล เจ้าหน้าที่เวชปฏิบัติครบครัวและชุมชน เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ให้บริการผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่งานเภสัชกรรม


เป้าหมาย

    ผู้รับบริการได้รับบริการด้านยาอย่างปลอดภัย มีคุณภาพ


ขอบเขตนโยบาย

    นโยบายเพื่อความปลอดภัยด้านยาประกอบด้วย 11 ประเด็น ได้แก่

1. กำหนดนโยบายหรือแนวทางการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ที่ประกอบด้วย บุคลากรจากสหวิชาชีพ กำหนดให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเป็นประธาน และเภสัชกรเป็นเลขานุการ กำหนดให้มีการประชุมอย่างน้อยทุก 3 เดือน

2. กำหนดรายการยาที่ควรมีไว้ในโรงพยาบาลตามความเหมาะสม ไม่มากเกินไป โดยใช้เกณฑ์ข้อบ่งชี้ ประสิทธิผล ข้อมูลความปลอดภัย ความเสี่ยง และต้นทุน เป็นบัญชียาในโรงพยาบาล

     2.1 บัญชียาในโรงพยาบาล ประกอบด้วย ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และมีสัดส่วนการใช้งบประมาณในการจัดซื้อไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 

     2.2 ควบคุมอัตราการเพิ่มขึ้นของรายการยาในโรงพยาบาลดังนี้

           2.2.1 เสนอยาเข้า 1 รายการ ต้องพิจารณาตัดออก 1 รายการ ในกลุ่มเดียวกัน ยกเว้นยาใหม่ที่ไม่เคยมีใช้

           2.2.2 นำเสนอเข้าบัญชียาโรงพยาบาลไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี และจัดทำบัญชียาในโรงพยาบาลปีละ 1 ครั้ง

           2.2.3 จำกัดจำนวนรายการยาที่มีชื่อสามัญเดียวกัน หรือยาที่ออกฤทธิ์ใกล้เคียงหรือ คล้ายคลึงกัน โดย

           - คัดเลือกยาที่มีชื่อสามัญเดียวกัน ตามรูปแบบ และความแรงไว้ใช้ชื่อสามัญละ 1 รายการ

           - ยาที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันและออกฤทธิ์ใกล้เคียงกัน ให้เลือกไว้เกิน 2 รายการ

3. ควบคุมอัตราการสำรองยาในคลังไม่เกิน 2 เดือน และนำ ABC –VEN Analysis มาใช้ในการบริหาร จัดการคลังยา

4. การจัดซื้อจัดหา

     4.1 จัดซื้อยาที่องค์การเภสัชกรรมผลิตหรือมีจำหน่าย 

     4.2 จัดซื้อยาจากบริษัทที่ผ่านมาตรฐาน GMP

     4.3 จัดซื้อยาจากบริษัทที่ผ่านการจัดซื้อร่วมระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับกระทรวง

5. กำหนดแนวทางและนำสู่การปฏิบัติเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาทั้งระบบ

     5.1 ป้องกันคำสั่งใช้ยาที่อาจเกิดปัญหา และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (Prescribing error and Adverse Drug Event ) ด้วยการจัดแนวทางการป้องกันปัญหาดังกล่าว เช่น การใช้ชื่อ สามัญทางยา การใช้ชื่อยาให้มีตัวเด่นในรายการยาที่ออกเสียงคล้ายกัน แนวทางการใช้คำย่อ

     5.2 ป้องกันความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา (Dispensing error) ทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ โดยให้ผู้ป่วยสอบทาน ชื่อ-สกุล ตนเอง และอาการที่มาพบแพทย์ซ้ำ ก่อนจ่ายยาทุกครั้ง และปฏิบัติตามมาตรฐานการจ่ายยาทุกครั้ง เป็นต้น

     5.3 ป้องกันความคลาดเคลื่อนในการให้ยา (Administration error) รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคที่เป็น ประวัติการใช้ยา ประวัติการแพ้ยา สอบทานชื่อผู้ป่วยก่อนให้ยาทุกครั้งเป็นต้น

6. ควบคุมระบบกระจายยาในหน่วยบริการต่างๆ ให้เกิดความปลอดภัย กำหนดให้กรรมการ PTC กำหนด เพื่อจำกัดการสำรองยาทั้งรายการและจำนวนในหน่วยงานของตน เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาและผลไม่พึงประสงค์

     6.1 การจัดเก็บเวชภัณฑ์

           6.1.1 จัดเก็บเวชภัณฑ์ด้วยระบบ first expire in – first expire out

           6.1.2 แยกเก็บเวชภัณฑ์ตามหลักวิชาการเช่น ยาที่ต้องเก็บในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส

           6.1.3 แยกเก็บยาที่มีโอกาสสับสนง่ายออกจากกัน เช่น พ้องรูป พ้องเสียง (LASA Drug)

           6.1.4 แยกเก็บยาที่มีความเสี่ยงสูงออกจากยาทั่วไป และทำสัญลักษณ์ให้ผู้ปฏิบัติสังเกตเห็นความแตกต่างได้ง่าย

           6.1.5 มีระบบควบคุมการเบิกจ่ายการสั่งใช้และการจัดเก็บยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 2 และประเภท 5 อย่างรัดกุม

7. กำหนดให้มีการดาเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ Drug Reconciliation อย่างเป็นระบบ

8. กำหนดให้มีการดำเนินงานเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยา โดยการติดตามและรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งระบบเครือข่ายสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และชุมชน ในเขตอำเภอกระสัง

9. กำหนดให้มีการดาเนินงานจัดทำบัญชียาและเฝ้าระวังติดตามการใช้ยากลุ่มเสี่ยงสูงที่ผู้ป่วยได้รับ และ มีความพร้อมในการบริหารจัดการยาต้านพิษสำหรับยากลุ่มนี้

10. กำหนดให้มีการดำเนินงานติดตามและประเมินการใช้ยาที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ บัญชี ง และ บัญชี จ ทุกรายการที่มีใช้ในโรงพยาบาล

11. กำหนดให้มีการดาเนินงานส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล โดยเฉพาะเน้นใน 3 โรค เป้าหมาย ได้แก่ โรคหวัด ท้องร่วงเฉียบพลัน และแผลเลือดออก ให้มีความครอบคลุมระดับโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และชุมชน


ความคิดเห็น